2013年11月6日星期三

ยาง

Sabaays  ความเป็นมาของยางพาราในประเทศไทย
ยางพาราในประเทศไทย

ความเป็นมาของยางพาราในประเทศไทย

ยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำยางที่กรีดจากต้นยางพารา "Hevea Brasiliensis" ต้นยางพาราไม่ใช่พืชพื้นเมืองของไทยแต่มาพร้อมกับอังกฤษที่เข้ามาในเอเชีย โดยได้นำยางพาราจากบราซิลมาทดลองปลูกในศรีลังกาจากนั้นเมื่อเห็นว่าได้ผลดี จึงนำมาปลูกในมลายาที่มีภูมิอากาศคล้ายกับศรีลังกา เพื่อที่จะป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมของตน แต่ต้นยางพาราได้เข้ามาปลูกในไทยนั้นเนื่องจากพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เห็นว่ายางจะเป็นพืชเศรษฐกิจทำรายได้ให้กับเมืองไทยจึงเริ่มนำเข้ามาปลูกใน ภาคใต้ของไทยเมื่อปี พ.ศ.2443 และพบว่าเป็นพืชที่สามารถสร้างรายได้ได้ดีจึงนิยมปลูกทั่วภาคใต้ ต่อมาก็ได้ขยายไปทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือในปัจจุบัน

ความเป็นมาของยางพาราในประเทศไทย

ความสำคัญของยางพาราในฐานะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ

ไทยเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลกโดยในปี 2545 สามารถผลิตยางธรรมชาติได้ถึง 2.61 ล้านตันโดยมีอินโดนีเซียสามารถผลิตได้เป็นอันดับที่ 2 จำนวน 1.63 ล้านตัน และอินเดียเป็นอันดับ 3 คือ 0.64 ล้านตัน ไทยการส่งออกยางพาราในปี พ.ศ. 2545ประมาณ 2.35 ล้านตัน สามารถทำรายได้จากการส่งออกประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ประเทศไทยส่EPDM ยาง วนใหญ่ใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ จักรยานยนต์และจักรยาน ยางรัดของ ยางยืด ถุงมือยาง และถุงยางอนามัย

นอกจากความสำคัญของยางพาราดังกล่าวแล้ว ไม้ยางพาราจากต้นยางพารายังมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ของไทย ที่มีมูลค่าการส่งออกปีละประมาณ 2 หมื่นล้านบาทเพราะไม้ยางกลายเป็นวัตถุดิบในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่สำคัญ หลังจากที่รัฐบาลไทยมีนโยบายปิดป่าในปี 2532 ชาวสวนยางจะโค่นต้นยางพาราที่มีอายุประมาณ 18-23 ปีที่ให้ผลผลิตน้ำยางต่ำจนไม่คุ้มที่จะกรีดน้ำยางแล้วขายให้โรงงานแปรรูปไม้

การผลิตยางพารา

ยางพาราเป็นพืชที่ปลูกในพื้นที่เขตที่มีฝนตกไม่มากเกินไปหรือไม่น้อยเกินไป และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่มากเกินไปโดยเฉลี่ยประมาณ 24-27 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ตลอดปี และการคัดเลือกพันธุ์ยางที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสามารถต้านทานโรคได้ดี จะให้ผลผลิตน้ำยางสูงIsoprene ยาง พันธุ์ยางที่ปลูกในปัจจุบันจะเป็นพันธุ์ยางที่ถูกปรับปรุงพันธุ์โดยสถาบัน วิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เพื่อให้ได้พันธุ์ยางที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่ ที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของแต่ละภาค เมื่อคัดเลือกต้นยางและนำมาปลูกแล้วเกษตรกรจะต้องดูแลบำรุงรักษาต้นยางจนถึง อายุที่กรีดน้ำยางสดเมื่อต้นยางมีอายุประมาณ 4-5 ปี และสามารถกรีดต้นยางได้จนกระทั่งต้นยางมีอายุประมาณ 18-23 ปีก็จะขายต้นยางให้กับโรงงานแปรรูปไม้ยางต่อไป

ยางที่ได้จากการกรีดนั้นจะถูกนำไปแปรรูปเป็นน้ำยางข้นหรือยางแผ่น ในประเทศไทยนั้นนิยมทำยางแผ่นเพราะเกษตรกรชาวสวนยางในไทยเป็นสวนขนาดเล็กมี ผลผลิตไม่มากนักเมื่อกรีดยางแล้ว จึงนิยมแปรรูปเป็นยางแผ่นแล้วเก็บไว้จนมากพอที่จะนำไปขายให้กับพ่อค้าหรือ โรงงานรมควันต่อไป ทำให้โครงสร้างทางการผลิตของไทยเป็นยางแผ่นมากกว่ายางชนิดอื่นๆ ถึงแม้ว่าในช่วงปี 2530 ที่มีความต้องการน้ำยางข้นเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการระบาดของโรคเอดส์ทำให้ ความต้องการใช้ถุงมือยางและ ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับการผลิตยางแผ่น

การที่ประเทศไทยกลายเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลกนั้น ไม่ใช่เหตุบังเอิญ เป็นเพราะรัฐบาลไทยส่งเสริมให้มีการปลูกและผลิตยาง นอกจากที่ภูมิศาสตร์ของไทยเหมาะกับการปลูกยาง ค่าแรงของไทยก็ไม่สูงเกินไป รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของยางพาราได้สนับสนุนการปลูกยางพาราโดยได้ตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับยางพาราคือ

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ในการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องยาง
องค์การสวนยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ผลิตยาง ค้นคิดผลิตภัณฑ์จากยาง ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับยาง ผลิตภัณฑ์ยาง
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ช่วยเหลือเกษตรกรโดยการสนับสนุนให้มีปลูกยางพันธุ์ดีทดแทนยาง พันธุ์เก่า สนับสนุนการปลูกยางในพื้นที่ใหม่ โดยมีงบประมาณที่ได้มาจากเก็บอากรจากการส่งอSBR 1502 ยางอกยางพารา
การที่ไทยส่งออกยางธรรมชาติมากกว่าการใช้ภายในประเทศนั้น ทำให้ราคายางของไทยขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการยางธรรมชาติของโลก ซึ่งปริมาณความต้องการยางธรรมชาติของโลกนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุที่สามารถใช้ทด แทนยางธรรมชาติได้ ซึ่งยางสังเคราะห์นั้นผลิตจากน้ำมันดิบ เมื่อราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นส่งผลให้ราคายางสังเคราะห์สูงขึ้น ทำให้ปริมาณความต้องการยางธรรมชาติสูงขึ้น และยางธรรมชาติส่วนใหญ่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ซึ่งจะถูกใช้ทดแทน ยางสังเคราะห์ในสัดส่วนที่สูงขึ้น

เทคโนโลยีกับการผลิตยางธรรมชาติของไทย

เทคโนโลยีกับยางธรรมชาติสามารถแบ่งได้ 3 ข้อคือ

เทคโนโลยีที่ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ยางทำให้ยางสามารถให้น้ำยาง มากขึ้น ต้านทานโรคได้มากขึ้น เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ยางทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำอันดับ 1 ในการผลิตยางธรรมชาติของโลกทั้งๆที่เนื้อที่เพาะปลูกยางธรรมชาติของไทยมี เพียง 1.43 ล้านเฮกตาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีถึง 3.37 ล้านเฮกตาร์
เทคนิคการกรีดเพื่อให้ได้น้ำยาง (tapping) ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดิม เกษตรกรชาวสวนยางในไทยยังคงใช้เทคนิคเดิมในการกรีดยางและใช้แรราคายางพารางงานคนงานใน การกรีดยาง ทำให้ไทยซึ่งมีความได้เปรียบมาเลเซียซึ่งมีประชากรน้อยกว่า ซึ่งหันไปให้ความสนใจในการผลิตน้ำมันปาล์มมากกว่า
เทคนิคการแปรรูปน้ำยางเป็นยางแผ่นดิบยังคงใช้แบบเดิมที่ใช้น้ำกรด เพื่อให้น้ำยางแข็งตัว จากนั้นก็นำไปรีดเป็นยางแผ่นและผึ่งให้แห้งเพื่อเตรียมรมควันหรือขายให้กับ พ่อค้าต่

没有评论:

发表评论